ขยะพลาสติกล่องหน! ในสิงคโปร์ สูญสลายในวันเดียว

สาเหตุที่ตามท้องถนน สวนสาธารณและชายหาดของประเทศสิงคโปร์ ปลอดจากขยะเรี่ยลาด หรือส่งกลิ่นเหม็น นอกจากที่นี่เขามีกฏระเบียบเคร่งครัด จับจริง ปรับจริง และให้ทุกบ้านทุกคนมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง

ในประเภทของขยะพลาสติกที่มีแนวโน้มจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์อาหารต่างๆ ที่ใช้แล้วทิ้ง ทางการสิงคโปร์ยังวางเส้นทางเดินไปสู่ Zero waste อย่างมีประสิทธิภาพ

แสดงให้เห็นเส้นทางของขยะพลาสติกไปไหน ยกตัวอย่างจากบรรจุภัณฑ์ถุงมันฝรั่งยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งหากว่าเรากินแล้วทิ้งโดยไม่กำจัดก็อาจจะตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมยาวนานถึง 500 ปี กว่าจะสูญสลาย แต่ที่นี่เขาสามารถกำจัดให้สูญหายไปจากสิ่งแวดล้อมภายในวันเดียวปัจจุบันขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ในสิงคโปร์เกือบทั้งหมด ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ถูกนำไปเผาด้วยความร้อนสูงถึง 1,000 องศา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าที่นำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ก่อมลพิษทางอากาศ ขณะที่ส่วนของเหลือจากการเผาซึ่งเป็นเถ้าและขยะบางส่วนก็ถูกส่งไปยังเกาะที่มนุษย์สร้างขึ้นในบริเวณใกล้เคียง โดยมีวิธีกำจัดซึ่งไม่ก่อพิษที่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในทะเลและสัตว์น้ำ

บรรจุภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ถือว่าเป็นประเภทขยะมีปริมาณมากที่สุดในสิงคโปร์ ตามข้อมูลจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (NEA) ระบุว่า ในปี 2018 สิงคโปร์สร้างขยะพลาสติกประมาณ 949,300 ตัน แต่มีการรีไซเคิลเพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

และขยะพลาสติกต่อหัวเพิ่มขึ้นเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา โดยมีรายงานของหนังสือพิมพ์สเตรทส์ไทมส์ ระบุไว้ว่า แต่ละคนในสิงคโปร์ทิ้งถุงเฉลี่ย 13 ถุงต่อวันในปี 2016 นั่นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว

 

ที่มา: https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000089251

คลิปจากเพจเฟซบุ๊ก Nas Daily ไทย

วันที่ 14 กันยายน 2564