10 กลุ่มกรีนฮ่องกง ขีดเส้นแบน! ภาชนะอาหารพลาสติกในปี 2025

‘ฮ่องกง’ หรือชื่อเป็นทางการว่าเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่ค่อยได้มีข่าวที่ตื่นเต้นในตลาดกรีนมานาน จนเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา 10 กลุ่มแนวกรีนออกมาประสานเสียงร่วมกันกดดันให้รัฐบาลออกกฎหมายเพื่อทำการแบนการใช้และการจำหน่ายภาชนะใส่อาหารที่ทำจากพลาสติกก่อนปี 2025

นักรณรงค์กรีนและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในฮ่องกงมองว่าการออกข้อกำหนดของรัฐบาลฮ่องกงช่วงที่ผ่านมาเป็นไปอย่างเชื่องช้า และไม่ทันต่อมลภาวะขยะที่มีปริมาณเพิ่มอย่างรวดเร็ว “ทางการฮ่องกงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นจริงเร็วกว่านี้ซึ่งที่ผ่านมาทางการก็ต้องการที่จะแก้ไขปัญหามลภาวะจากพลาสติกอยู่แล้ว”

ตัวแทนจาก 10 กลุ่มด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกลุ่มกรีนพีช WWF Hong Kong และ Conservancy Association ได้ส่งข้อร้องเรียนถึงฝ่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนที่จะเกิดการประชุมใหญ่ในงาน Legislative Council’s Panel on Environmental Affairs

จากการที่ภาชนะใส่อาหารพลาสติก ตกเป็นเป้าในการเรียกร้องให้แบนในครั้งนี้ มีการสร้างหุ่นสัตว์ประหลาดที่ทำจากพลาสติกประเภทภาชนะใส่อาหารพลาสติก โดยนักสิ่งแวดล้อม 3 คนถือป้ายที่อ่านว่า บ้านที่ใช้ภาชนะบนโต๊ะอาหารเป็นพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง ต้องหมดไปภายในปี 2025 และนําเสนอ สัตว์ประหลาดบนโต๊ะอาหารพลาสติก สูง 3 เมตรร่วมเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล พร้อมอุปกรณ์ประกอบฉากที่แสดงถึงเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติกที่มีจำนวนกว่า 14.6 พันล้านชิ้น (ตามข้อมูลของกรีนพีซและจำนวนที่ถูกทิ้งไว้ในเมืองไม่น้อยกว่า 7.5 ล้านชิ้นทุกปี)

นอกจากนั้น การเรียกร้องจากกลุ่มอนุรักษ์ยังขยายผลออกไปโดยมุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้ามาเพิ่มการควบคุมการใช้ภาชนะใส่อาหารจากพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง สำหรับการให้บริการอาหารของร้านอาหาร ทั้งกับผู้ที่รับประทานอาหารจากร้านค้า และซื้อกลับบ้าน(Take Home) พวกเขาต้องการให้แบนทั้งหมดภายในปี 2568 และให้จัดทําโปรแกรมและตารางเวลาใช้บังคับเพื่อส่งเสริมการใช้ภาชนะบนโต๊ะอาหารประเภทที่นํากลับมาใช้ใหม่ได้อย่างชัดเจน

นักรณรงค์เหล่านี้กล่าวว่า ฮ่องกงต้องเผชิญกับการ ปิดล้อมด้วยพลาสติก และข้อกำหนดของรัฐบาลสําหรับใช้เป็นกฎระเบียบที่ทำเป็นระยะๆ ยังขาดกรอบเวลาและตารางเวลาของแผนการดําเนินการที่ชัดเจน เช่น ข้อเสนอของรัฐบาลตั้งแต่การเริ่มปรึกษาหารือเพื่อกำหนดแผนงานในระยะแรกซึ่งใช้เวลายาวถึง 4 ปี และไม่มีจุดสิ้นสุดว่าจะเริ่มเข้าสู่การดําเนินการในระยะที่ 2 เมื่อใด จึงเป็นความก้าวหน้าที่เชื่องช้ามาก จนไม่น่าจะเกิดประสิทธิภาพ และไม่สามารถแก้ปัญหาสําคัญของมลพิษพลาสติกได้อย่างทันท่วงที

ภายใต้ข้อเสนอต่อรัฐบาล มีการวางข้อเสนอให้การขายเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสจากพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งจะต้องถูกห้ามตั้งแต่ในระยะแรก ในทางกลับกันการควบคุมการใช้ช้อนส้อมพลาสติกสําหรับบริการซื้ออาหารกลับบ้านจะถูกนํามาใช้ในขั้นตอนระยะที่ 2 ทำให้ในขั้นแรกข้อห้ามครอบคลุมเพียงหลอดพลาสติก และส้อมมีดช้อนและจานภายในปี 2025 จากนั้นถึงจะห้ามผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งทั้งหมด แต่ก็ยังไม่ได้กำหนดวันเริ่มต้นสําหรับระยะที่ 2 ตามที่ออกมาเป็นประกาศ

บรรดานักวิชาการกรีน ต่างเห็นว่าความสำเร็จของขั้นตอนระยะที่ 2 ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่ส่งต่อมาจากขั้นตอนแรก แต่รัฐบาลกลับมองว่าผลของการดําเนินการในระยะเวลาประมาณ 12-18 เดือน เพียงพอจะเตรียมความพร้อมในการก้าวขั้นต่อไปของตลาดและครัวเรือนโดยรวม ทั้งที่จริงทางเลือกใช้พลาสติกในอนาคต รัฐบาลต้องนำบทเรียนที่ได้มาทบทวนก่อนที่จะกําหนดวันเปิดตัวโครงการพัฒนาต่อไปในระยะที่สอง

ภาชนะอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งสําหรับมื้อเดียว กินเวลาในการครองตลาดมานานนับร้อยปี
ภาชนะอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งสําหรับมื้อเดียว กินเวลาในการครองตลาดมานานนับร้อยปี

สิ่งที่น่าสนใจจากเรื่องนี้ คือ ฮ่องกงมีแนวคิดที่จะสั่งห้ามการใช้ช้อนส้อมพลาสติกที่ร้านอาหารภายใน 4 ปี หรือปี 2025 ซึ่งครอบคลุมรับผิดชอบต่อการทิ้งช้อนส้อมพลาสติกประมาณ 14.6 พันล้านชิ้นต่อปี หรือประมาณ 1,940 ชิ้น

ในอนาคตร้านอาหารในฮ่องกงจะต้องปรับแผนดำเนินงานใหม่โดยไปจัดหาเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และลูกค้าอาจจะต้องเตรียมนําภาชนะในการใส่อาหารและบริโภค เช่น พกช้อนส้อมส่วนตัวมาด้วย หรือต้องเตรียมภาชนะสำหรับใส่อาหารเพื่อการซื้ออาหารแพกกลับบ้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในการห้ามรายการพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง

อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดว่าทั่วทั้งเมืองจะเริ่มต้นด้วยการห้ามการขายเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำจากพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งและสถานที่จัดเลี้ยงในท้องถิ่นจะถูกห้ามมิให้เสนอช้อนส้อมพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งรวมถึงหลอดพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง เครื่องกวนช้อนส้อม หรือจาน และจะไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหาถ้วยพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งฝาถ้วย หรือภาชนะบรรจุอาหารให้กับลูกค้าที่รับประทานอาหารภายในร้าน โดยข้อกำหนดการห้ามรายการดังกล่าวจะขยายไปยังบริการซื้อกลับบ้านในระยะที่สอง

ความเสียหายต่อสภาพสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งสําหรับมื้อเดียว กินเวลาในการครองตลาดมานานนับร้อยปี ทำให้ปริมาณของขยะพลาสติกที่ทิ้งจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบนิเวศ ซึ่งตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมรวมถึงมหาสมุทร และในที่สุดขยะเหล่านี้ก็จะถูกแยกกระจายออกเป็นไมโครพลาสติกและกลับเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์
ทางกรีนเอิร์ธกล่าวอีกว่ากําหนดการตามโปรแกรมของรัฐบาลฮ่องกงแสดงถึงความเพิกเฉยต่อความอ่อนไหวจากภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากช้อนส้อมพลาสติกที่แพกกลับบ้าน ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติในช่วงการระบาดของโรคระบาด Covid-19

ซึ่งก่อนหน้านี้ องค์กรพัฒนาเอกชนระบุว่าทางการจีนแผ่นดินใหญ่ได้สั่งห้ามการผลิตและจําหน่ายเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วนับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ขณะที่สหภาพยุโรปได้กําหนดให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศห้ามใช้ภาชนะบรรจุอาหารและถ้วยที่ทําจากวัสดุชนิดเดียวกันนี้ในอุตสาหกรรมการจัดเลี้ยงภายในปีนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

 

ที่มา: https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000087615 

วันที่ 06 กันยายน 2564