TIPMSE ปลดล็อค กม. EPR เตรียมใช้ปี 70 ปูทางเรียกคืนบรรจุภัณฑ์สู่วงจรรีไซเคิล ดันองค์กร PROVE กลไกบริหารจัดการขยะทั้งระบบเปิดเอกชนร่วมภาคสมัครใจ
ไม่ใช่ผลิตสินค้าขายอย่างเดียวแล้วจบ แต่ต่อไปบทบาทของ “ผู้ผลิต” ในโลกยุคใหม่ ยังต้องขยายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมครอบคลุมไปจนถึงการจัดการสินค้าหลังบริโภคที่กลายเป็น “ขยะ” ตามหลักการ EPR (Extended Producer Responsibility)
ซึ่งกำลังกลายเป็นกฎกติการค้าใหม่ในประชาคมโลก EPR (Extended Producer Responsibility) หรือ “หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต” เป็นการขยายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตในทุกกลุ่ม ตั้งแต่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ไปจนถึง วิสาหกิจขนาดกลางย่อม (SMEs)
ที่ต้องบริหารจัดการให้ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ตั้งแต่การออกแบบการผลิต ไปจนถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้ถูกต้องตามหลักการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สำหรับประเทศไทยมีเป้าหมายในการประกาศใช้กฎหมายใหม่ในปี 2570 เพื่อนำหลัก EPR มาใช้ในภาคการผลิตของประเทศ เพื่อรักษาขีดความสามารถการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะสินค้าเพื่อการส่งออก
ทั้งนี้ สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อมงาน (TIPMSE ) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท. ) ได้เป็นแกนกลางร่วมกับเครือข่าย ภาครัฐ และเอกชน ในการเตรียมความพร้อมพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการเก็บบรรจุภัณฑ์เข้าสู่วงจรรีไซเคิล
โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “PROVE: The Journey to EPR Thailand” เพื่อสื่อสารและสร้างโอกาสในการเข้าร่วมขับเคลื่อน EPR ภาคสมัครใจ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ภาคบังคับ ที่ภาครัฐอยู่ระหว่างผลักดัน “พ.ร.บ.การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน”
ซึ่งนำหลักการ EPR มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย โดยกำลังเตรียมเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคาดว่าจะเริ่มประกาศใช้ในปี 2570 เพื่อนำเสนอสู่การพิจารณาสู่สภาผู้แทนราษฎร
โดยทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้รวบรวม โรงงานรีไซเคิลจาก 60 องค์กร เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อปูทางการพัฒนาระบบขององค์กร ให้สามารถนำหลัก EPR ไปใช้โดยไม่เกิดอุปสรรคและปัญหาในการบริหารจัดบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วที่มีประสิทธิภาพ
“ดังนั้นการเกิดระบบ EPR ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกลไกในการจัดการอย่างเป็นระบบครบวงจร เนื่องจากกฎหมายขยะปัจจุบันยังมีช่องโหว่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่เพียงเก็บขนกำจัดอย่างเดียว แต่ไม่มีบทบัญญัติเรื่องการคัดแยก และรีไซเคิล”
นายทวีชัย เจียรนัยขจร ผู้อำนวยการส่วนลดและใช้ประโยชน์ของเสีย กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กล่าวเน้นย้ำ ความสำคัญที่ ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม และเดินหน้า ในการนำบรรจุภัณฑ์กลับเข้าสู่ระบบมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดการลงมือปฏิบัติ และอุดช่องว่างของการใช้ระบบ EPR ในอนาคต ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยหลักการ EPR ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน มีแผนงานทั้งหมด 7 แผนงาน ได้แก่
1. การสนับสนุนการดำเนินงาน V-EPR หรือ EPR ภาคสมัครใจของเอกชน
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น
3. การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามหลัก EPR ในอนาคต (ถอดบทเรียนจากการนำร่อง)
4. การจัดทำข้อมูลและฐานข้อมูลบรรจุภัณฑ์
5. การพัฒนาข้อเสนอแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนภาคเอกชน กรณีจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลักการ EPR
6. การสร้างการรับรู้ความเข้าใจ เพื่อสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
7. การพัฒนากฎหมาย EPR
จากแรงกดดันของประชาคมโลกในการจัดการปัญหามลพิษจากพลาสติก และการนำของเสียกลับมาเป็นทรัพยากรเพื่อลดคาร์บอนฟรุตพรินท์ที่กลายเป็นกระแสโลก จำเป็นต้องมีการขับเคลื่อน EPR ที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย เพื่อนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ด้าน นายธงชัย ศิริธร รองประธานสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE ) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท. ) TIPMSE ในฐานะองค์กรหลักของภาคเอกชนในการขับเคลื่อน EPR ระบุว่า เพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้ผลิตทุกกลุ่มอุตสาหกรรมสามารถเข้าสู่ระบบ EPR ได้ง่ายขึ้น และมีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้
จึงพัฒนากลไก PRO ( Producer Responsibility Organization) เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการบริหารจัดการ รับผิดชอบด้านการเรียกกลับบรรจุภัณฑ์ โดยระหว่างเตรียมพร้อมรองรับการบังคับใช้กฎหมายใหม่ ภาคเอกชนมีแผนร่วมกันจัดตั้งองค์กรตัวแทนในนาม PROVE ( Producer Responsibility Organization Voluntary EFFORT)
เพื่อร่วมทดลองการดำเนินงาน EPR ภาคสมัครใจในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงาน และนำเสนอภาครัฐ หาบริบทที่เหมาะสมกับประเทศไทย
โดยคาดว่าจะมีการเปิดตัวองค์กร PROVE ในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2024 ช่วงเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งจะเวทีประกาศความร่วมมือการขยายเครือข่ายครั้งสำคัญ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อน EPR ภาคสมัครใจ และมุ่งหวังว่าผู้ประกอบ SME จะเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น เพราะการเข้าร่วมจะนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการค้าของไทยในระยะยาว
ที่ผ่านมา ได้มีการนำร่องโครงการ EPR ภาคสมัครใจ (Voluntary EPR ) ภายใต้โครงการ PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2564 ในพื้นที่ 3 เทศบาล จ.ชลบุรี ได้แก่ เทศบาลเมืองแสนสุข เทศบาลเมืองบ้านบึง และเทศบาลตำบลเกาะสีชัง และเตรียมขยายผลอีก 11 เทศบาลในปี 2567 เพื่อทดลองเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยหลัก EPR
จนปัจจุบันมี 100 องค์กรเข้าร่วมแสดงเจตจำนงความร่วมมือในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2023 ที่ผ่านมา และยังมี 4 องค์กรภาคี ได้แก่ PPP Plastics, PRO Thailand Network, Aluminium Closed Loop Packaging System (Al Loop) และ TIPMSE PackBack และรวมถึง Collector รายใหญ่ที่พร้อมสนับสนุนอย่าง TBR หรือ SCGP สร้างกลไก EPR ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม
ปัจจุบันประเทศไทยได้มีเอกชนรายใหญ่ รวมตัวกันภายใต้ PRO-Thailand Network 7 บริษัท นำร่อง รวบรวมบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว 3 ประเภท ขวดพลาสติกใส (PET Bottle) กล่องเครื่องดื่ม และพลาสติกหลายชั้น (เช่น ซองขนม ถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น)
นอกจากนี้ ยังมี Aluminium Loop ที่ทดลองนำร่องศึกษาเครื่องมือเก็บกลับในพื้นที่พิเศษ อย่างพื้นที่เกาะ และ PPP Plastic ที่กำลังผลักดันการพัฒนาโครงสร้างรองรับการคัดแยก ซึ่งที่ผ่านมา ทุกหน่วยงานลงมือทำอย่างเข้มข้นภายใต้ความเชี่ยวชาญของหน่วยงานนั้น
แต่ PROVE จะนำองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านั้นมาสร้างระบบเพื่อทดลองพัฒนา PRO หรือองค์กรที่รับผิดชอบการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน เพื่อจัดการบรรจุภัณฑ์ได้อย่างครอบคลุม เพื่อให้บริการกับทุกกลุ่ม เป้าหมายการสร้างเครือข่าย EPR ให้เกิดวงจรที่สมบูรณ์
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการขยายเครือข่ายเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในระบบ EPR เวทีแลกเปลี่ยน 4 สถานีเรียนรู้ ได้จัดผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ และรับฟังความคิดเห็นปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการ เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการทำงานด้านต่าง ๆ ที่สนับสนุนกลไก EPR และร่วมทดลองเป็นส่วนหนึ่งของโมเดลนำร่อง PROVE ผ่านเวทีสัมมนากลุ่มย่อย ประกอบด้วย
1.สาระสำคัญ ในสถานี Recap EPR Policy : จับประเด็นกฎหมาย EPR
กฎหมาย EPR จะเป็นแม่บทของการกำกหนดกลไกการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ที่ไปสู่การกำหนดนโยบายระดับประเทศ ผ่านคณะกรรมการนโยบายการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
ที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ร่วมด้วยผู้แทนจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน และคณะกรรมการผู้ชำนาญการ
ขณะที่ในส่วนภาคปฏิบัติจะมีกลไกการจัดการบรรจุภัณฑ์ครอบคลุมตลอดทั้งวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ, ผู้ผลิต, ผู้จัดจำหน่าย, ผู้บริโภค, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ผู้เก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (ซาเล้งและร้านรับซื้อ ตลอดจนสถานที่กำจัด สถานที่แปรใช้ใหม่บรรจุภัณฑ์)
สาระสำคัญในกม. EPR ยังมีการกำหนดบทบาทองค์กรที่รับผิดชอบการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน (PRO : Producer Responsibility Organization)ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการ ในการเก็บรวบรวมและคัดแยกบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เพื่อนำไปแปรใช้ใหม่
โดยเรียกเก็บค่าบริการในการจัดการบรรจุภัณฑ์ (EPR Fees) จากผู้ประกอบการ รวมถึงจัดทำแผนจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน เพื่อเสนอต่อกรมควบคุมมลพิษ ขณะที่ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ ผู้ประกอบการจะต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียม Damage Fee เข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2.สาระสำคัญ ในสถานี Reset Infrastructure: ปรับโครงสร้างขับเคลื่อน EPR
ได้มีการนำเสนอระบบนิเวศเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการขยะอย่างยั่งยืน ภายใต้โครการ Smart Recycling Hub ที่จะเป็นโมเดลต้นแบบนำร่องการจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร ในพื้นที่กทม.
โดยต้องพัฒนาระบบ ecosystem และเชื่อมโยงให้มีระบบจัดการวัสดุใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการผลิต ครอบคลุมตั้งแต่การแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ไม่ว่าจะเป็นกลไก Waste Collection System รองรับการจัดการขยะแห้ง ขยะรีไซเคิล ขยะเปียก การจัดตั้งจุดรับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว (drop off point),
ระบบขนส่งและจัดเก็บ และการจัดตั้งศูนย์คัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล (Material Recovery Facility : MRF) เพื่อคัดแยกขยะตามประเภทของวัสดุ นำกลับมาใช้ประโยชน์ ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่
1.ส่งเข้าโรงงานรีไซเคิล (Mechanical Recycler) 2.เอาขยะพลาสติกกลับไปทำให้เป็นน้ำมันหรือปิโตรเลียม (Chemical Recycler) 3.ใช้เป็นเชื้อเพลิง ผลิตพลังงานจากขยะ (Waste To Energy)
3.สาระสำคัญ ในสถานี Reinvent with Recycle: เปลี่ยนดีไซน์สู่ความยั่งยืน
ผู้ผลิตต้องมีความรับผิดชอบตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบดีไซน์ โดยนำหลัก Eco-design ตามแนวคิด Design for Recycle (D4R ) เพื่อเปลี่ยนให้บรรจุภัณฑ์สามารถเก็บกลับมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้มากที่สุด
สอดรับกับหลักการ Eco-modulation fees ที่การออกแบบดีไซน์จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการพิจารณาปรับลดค่าธรรมเนียม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำ eco-design ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ดังนั้น การออกแบบที่สามารถรีไซเคิลได้ จะทำให้บรรจุภัณฑ์สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อย่างเหมาะสม ลดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ให้ได้มากที่สุด
หากเป็นไปได้ ให้ใช้วัสดุที่รีไซเคิลได้/วัสดุรีไซเคิลแล้ว, สนับสนุนการใช้วัสดุชนิดเดี่ยว (mono-materials) ใช้ส่วนประกอบของวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ และใช้สีให้น้อยที่สุด, ใช้สารยึดติดหรือกาวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการคัดแยกและรีไซเคิล,
ตัวช่วยหมุนปิด/ฝาปิดควรติดกับบรรจุภัณฑ์ให้หนาแน่น เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างชิ้นส่วนขนาดเล็ก, บรรจุภัณฑ์ควรได้รับการออกแบบในลักษณะที่ให้สามารถเททิ้งของเหลือภายในออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ในความหมายของการออกแบบเพื่อการรีไซเคิล
บรรจุภัณฑ์ควรได้รับการออกแบบในลักษณะที่สามารถแยกส่วนประกอบบรรจุภัณฑ์ (packaging components) แต่ละส่วนออกจากกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายมีส่วนร่วมในขั้นตอนการกำจัด เป็นต้น
4.สาระสำคัญ ในสถานี Reignite EPR Voluntary Action : จับมือรวมพลังผลักดัน EPR การเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วจำเป็นต้อง เกิดจากความรับผิดชอบทุกภาคส่วน ทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งโรงงานรีไซเคิล
เพื่อให้เกิดการเก็บกลับครบวงจร (Closed Loop Packaging) ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ. EPR ได้กำหนดแนวทางการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนไว้ 2 รูปแบบ แบบแรก คือ ผู้ประกอบการรับผิดชอบจัดการเอง Ind