หากอยากรู้ว่าทุกวันนี้อากาศร้อนมากขึ้นแค่ไหน ให้ลองวัดจากการละลายไวของไอศกรีมที่ซื้อมาดู เพราะเมื่อเทียบกับในอดีตแล้วเชื่อเลยว่าละลายไวขึ้นหลายเท่าตัวแน่นอน แต่ปัญหาที่กล่าวมานี้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยจากสิ่งที่เรียกว่า “สภาวะโลกร้อน” ซึ่งแท้จริงแล้วส่งผลกระทบอย่างหนักไปทั่วโลก
ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกดูจะหันมาใส่ใจกับปัญหานี้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 และคนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z ก็ดูมีความคาดหวังให้แบรนด์ต่าง ๆ ออกมาสนับสนุนในเรื่องนี้กันไม่น้อย ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่แบรนด์เล็กจนแบรนด์ระดับโลก ต่างให้ความสนใจและออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ยกตัวอย่างแบรนด์ระดับโลก “เต็ดตรา แพ้ค” (Tetra Pak) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก และร้านคาเฟ่ “Early BKK” ผู้ชื่นชอบผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจนสามารถทำร้านที่มีสไตล์รักษ์โลก
เต็ดตรา แพ้ค แบรนด์ที่ให้สำคัญกับสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้าน ทำให้ผู้บริโภคต้องปรับตัวตามกระแสที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่ผู้ผลิตควรจัดหาสินค้าและบริการที่ตรงใจให้ตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคอย่างทันท่วงที ทำให้ เต็ดตรา แพ้ค ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมานานกว่า 20 ปี ได้ออกมาสรุปภาพรวมในปี 2556 กับ 5 ประเด็นหลักระดับโลกที่ตั้งไว้ ดังนี้
ด้านระบบอาหาร : คิดค้นกรรมวิธีการแปรรูปเครื่องดื่มจากถั่วเหลืองแบบใหม่ จากกากมอลต์ที่ได้จากการผลิตเบียร์ มาทำเป็นเครื่องดื่มธัญพืช และทำงานร่วมกับ Incubator ด้านเทคโนโลยีอาหารรวมถึงสตาร์ทอัพ เพื่ออาหารที่ยั่งยืน
ด้านธรรมชาติ : มีการช่วยฟื้นฟูป่าในประเทศต่าง ๆ ผ่านโครงการ Araucaria
ด้านสภาพอากาศ : ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการดำเนินงานลงได้ถึง 39 %
การหมุนเวียนทรักยากร : รวบรวมและการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม และส่งบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพืช 8,800 ล้านกล่อง
ความยื่นยื่นทางสังคม : สนับสนุนคนเก็บขยะนอกระบบผ่านโครงการต่าง ๆ
สำหรับ เต็ดตรา แพ้ค ประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนโซลูชันหมุนเวียนทรัพยากร เน้นให้เกิดการจัดเก็บ รวบรวม และรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มเพิ่มมากขึ้น เพื่อดึงวัสดุที่ใช้แล้วออกจากหลุมฝังกลบ โดยในปี 2556 เต็ดตรา แพ้ค ทำอะไรบ้าง ได้แก่
จัดตั้งศูนย์รับซื้อคืนและรวบรวมกล่องที่ใช้แล้ว 15 แห่งทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย
รวบรวมกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วมากกว่า 2,500 ตัน และส่งมอบเพื่อผลิตเป็นแผ่นหลังคากว่า 68,000 แผ่น ผ่านโครงการเก็บกล่องสร้างบ้าน
ช่วยให้เกิดการรวบรวมกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้ว จากระบบการซื้อขายขยะมากกว่า 75 ตัน ในปี 2565 ส่งไปรีไซเคิลโดยโรงงานรีไซเคิลแห่งใหม่ของบริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ไทย
คุณปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หลายคนอาจจะสงสัยทำไมต้องเป็นระบบรับซื้อ เนื่องจากในการทำโครงการต่าง ๆ มีเรื่องระยะเวลา รวมถึงข้อจำกัดที่ต้องเจอ คือในเรื่องของการ “ขนส่ง” แต่ก่อนเรามีจุดรับถึง 400 จุด 20 จังหวัด แต่เราไม่ได้ทำมากไปกว่านั้นไม่ได้แล้ว เพราะเครือข่ายไปไม่ถึง แต่ถ้าให้ผู้บริโภคเสียเงินในการส่งกล่องมาให้ เขาก็ไม่มีค่าใช้จ่ายเพียงพอ เพราะฉะนั้น เราเห็นว่าการสร้างห่วงโซ่ที่ยั่งยืน คือจัดตั้งศูนย์รับซื้อคืนและรวบรวมกล่องที่ใช้แล้วน่าจะการตอบโจทย์ดีที่สุด
เทรนด์บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ
บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน คือ บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อลดกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน และคำนึงถึงความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต โดยคำนึงถึง 3P ดังนี้
Planet : โลกและสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากร เพิ่มการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่
People : สุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี
Profit : ส่งเสริมกิจการให้มีผลกำไร ดำเนินงานต่อไปได้
ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคและรูปแบบการซื้อมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเทรนด์บรรจุภัณฑ์ก็จะต้องปรับตามไปด้วย สำหรับในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ความคาดหวังอันดับแรกของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์เป็นเรื่องของความปลอดภัย ความสะดวก ใช้งานง่าย และผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจในการเลือกใช้วัสดุของบรรจุภัณฑ์กันมากขึ้น เช่น วัสดุทดแทนจากธรรรมชาติ วัสดุรีไซเคิล เป็นต้น โดยเริ่มเห็นการใช้นวัตกรรม เช่น QR Code บนตัวบรรจุภัณฑ์มาสื่อสารและให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค
ทำไม บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ถึงมีความสำคัญ เป็นเพราะว่าบรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ถูกผลิตเพื่อใช้ครั้งเดียว ก่อให้เกิดปัญหาขยะและมลภาวะระยะยาวในระบบนิเวศ เหตุผลที่แบรนด์เลือกที่จะใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน คือ ต้องการเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่มีไลฟ์สไตล์รักษ์โลก
คาเฟ่ “Early BKK” รักสไตล์ + รักษ์โลก
สำหรับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ไม่ใช่แค่เรื่องพื้นฐานอย่างการแยกขยะ การประหยัดพลังงาน หรือการงดใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งเท่านั้น แต่รวมถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ ตัวตน และรสนิยมของเจ้าของแบรนด์ ดังนั้นสิ่งที่เจ้าของแบรนด์เลือกต้องสะท้อนให้เห็นคุณค่ากับความเป็นตัวเอง เช่นเดียวกับตระหนักถึงคุณค่าสิ่งแวดล้อมให้ได้เช่นเดียยวกัน
คุณเคฑิตา ชัยศักดิ์ศิริ เจ้าของร้านคาเฟ่ “Early BKK” กล่าวว่า “ร้าน early BKK แห่งนี้ ได้เล่าถึงแนวคิดในการทำร้านครั้งนี้ว่าใช้แนวคิด“ลดก่อนเริ่ม” เริ่มต้นจากการคิดว่าจะสามารถใช้วัสดุ recycle และ green concept เข้ามาใช้การออกแบบและการบริหารจัดการคาเฟ่ได้อย่างไรบ้าง ด้วยทุกวันนี้มีปัญหามากมายกับการจัดการขยะทั้งในสเกลเล็กและใหญ่ในสังคมของเรา การเลือกใช้วัสดุที่ใช้แล้วหรือการยกระดับขยะ recycle จึงกลายมาเป็นโจทย์หลักในการออกแบบคาเฟ่แห่งนี้
จากการ research พบว่าขยะที่พบมากในชุมชนที่สามารถนำมา recycle ได้คือขยะประเภทบรรจุภัณฑ์ทั้งหลาย เช่นกล่องนมและขวดแก้ว เราจึงตัดสินใจจะใช้ขยะประเภทนี้มาใช้เป็นวัสดุหลักในการออกแบบเริ่มจากการใช้บอร์ดที่เรียกว่า re-board เป็นวัสดุทางเลือกที่คุณสมบัติคล้ายไม้อัดแต่ทำจากเศษกล่องนมที่เป็นชิ้นเล็กมาตัดแล้วอัดขึ้นใหม่เป็นแผ่น ด้วย texture ที่น่าสนใจของ re-board เรานำมาใช้เป็นบานประตู ผนัง ฝ้าเพดาน รวมถึงโต๊ะและเก้าอี้ การเลือกสีของกล่องนมที่นำมาใช้ เลือกเป็นสีส้มและโทนสีสว่าง เพื่อให้เข้ากันกับ วัสดุพื้นที่เลือกใช้เป็น กระเบื้องอิฐดินเผาสีส้ม
เทรนด์ความยั่งยืนถือเป็นกระแสอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เพราะทุกคนเริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้แบรนด์ระดับโลกอย่าง “เต็ดตรา แพ้ค” มีการปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภคและเทนรด์ต่าง ๆ รวมถึงร้าน SME ด้วยเช่นเดียวกัน สุดท้ายนี้หากแบรนด์มีความรับผิดชอบต่อสังคม ก็จะเป็นที่น่าชื่นชมของผู้บริโภค
ที่มา: https://www.marketingoops.com/news/tetra-pak-early-bkk-sustainability