“อาหารแห่งอนาคต”ทางเลือกใหม่ผู้บริโภครักสุขภาพ ส.อาหารอนาคตไทยชี้ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัว แต่เป็นทางออกของไทยและของโลก เชื่อแนวโน้มสดใสและเป็นโอกาสของผู้ประกอบการแต่ต้องมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีถึงจะแข่งขันในตลาดโลกได้
อาหารแห่งอนาคต (Future Food)ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวอีกต่อไป แต่เป็นทางออกของไทยและของโลกที่อาหารจะไม่เป็นแค่ของอร่อยกินอิ่มท้อง แต่จะเป็นอาหารที่ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ และดีต่อโลก นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงนวัตกรรมและเทรน์ดของอุตสาหกรรมอาหารในปีนี้ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารในอนาคต เพื่อตอบโจทย์และความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกทั้งนี้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิต
สินค้าเกษตรและอาหารที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารจึง เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวนมากและเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทั้งทาง เศรษฐกิจและสังคม
โดยอุตสาหกรรมอาหารมีห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารค่อนข้างยาว GDP ของอุตสาหกรรมอาหาร 9.2 แสนล้านบาท สถานประกอบการจำนวน 1.36 แสนราย และมีความสำคัญในการจ้างงาน 9.73 แสนคน คิดเป็น 7.6% ของ การจ้างงาน (ข้อมูล สถาบันอาหาร ปี2021)
อย่างไรก็ดีประเทศไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในฐานะประเทศผู้ผลิตอาหารในตลาดโลกจากการขาย สินค้าเกษตรและอาหารมูลค่าต่ำ อุตสาหกรรมการส่งออกอาหารของไทยมีความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกลดลงถึง 16 เท่าในช่วง10ปีผ่านมา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เข้าสู่ตลาดอาหารมูลค่าสูง ที่ผ่านมารัฐบาลไทย ได้ประกาศให้อาหารแห่งอนาคตเป็นหนึ่งในสิบกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรการดำเนิน ธุรกิจไปสู่การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันของไทยในเวทีอาหารโลก
เทรนด์เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารใหม่ๆ ได้พลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง จากภายใน ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงทั้งระบบของห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหาร โดยยึดมั่นให้เกิดความมั่นคง ทางอาหารและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาหารอนาคตไทยได้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาเพิ่มมูลค่า และพัฒนาสินค้าให้เป็นตามความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก
โดยนวัตกรรมและเทรนด์ อุตสาหกรรมอาหารในปี 2566แบ่งออกเป็น6ระดับเช่น ยกระดับการผลิตแบบใหม่ การพิมพ์อาหาร 3 มิติ เช่น 3D Printed meat เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ได้นำเอาเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิวัติ อุตสาหกรรมอาหาร ที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อมให้ดีมากยิ่งขึ้น โดย เนื้อสัตว์ที่จะนำมาพิมพ์ในเครื่องพิมพ์ 3 มิตินี้มีทั้งไขมัน เลือด เนื้อ และเส้นเอ็น ที่ทำมาจากพืช ทั้งหมด เป็นต้น
- หรือการยกระดับการผลิต Freeze dried ขาดไม่ได้ในอุตสาหกรรม มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ให้คุณภาพสูงอยู่เสมอ เข้ากับผู้บริโภคสายสุขภาพ+ความสะดวกสบายช่วยยืดอายุการเก็บรักษาและความสด
- ยกระดับทางด้านการเกษตร การทำ ฟารม์ แนวตั้งเน้นผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด พื้นที่มากขึ้ น สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปีใช้พื้นที่ดินลดลง และไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร
- ยกระดับการผลิตแบบใหม่ กระบวนการฟอร์เวิร์ดออสโมซิสเป็นกระบวนการถนอมอาหารแบบใหม่ที่ทำให้ของเหลว เข้มข้นผ่านการออสโมซิสแบบเดินหน้า ทำให้อาหาร เข้มข้นขึ้นโดยใช้พลังงานน้อยลงและไม่ใช้ความร้อน ส่งผลให้อาหารคงคุณค่าสารอาหารได้มากขึ้ นช่วยความสดได้นานขึ้ นไม่ส่งผลเสียต่อรสชาติ
- ยกระดับบรรจุภัณฑ์ ปลอดพลาสติกและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ หลายประเทศลดและเลิกการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและความก้าวหน้าทางนวัตกรรมเกิดเป็นบรรจุภัณฑ์ที่กินได้และย่อย สลายได้ทางชีวภาพ และบางบรรจุภัณฑ์ยังสามารถรับประทาน เช่น สาหร่าย ซึ่งปลอดภัยต่อการบริโภคและสุดท้ายคือการยกระดับกระบวนการ AI Blockchain เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจเน้นไปที่ประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีขึ้นสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
สำหรับเทรนด์อาหารปี 2566 ที่ผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสนใจและเลือกซื้อ ประกอบด้วย
- Earth-friendly production ผู้บริโภคต้องการหลักฐานการสร้างและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
- Food mood ผู้บริโภคต้องการอาหารที่ดีต่อสภาพจิตใจและอารมณ์
- Trust and Traceability ผู้บริโภคต้องการทราบถึ่งที่มาที่ไปของอาหาร มีส่วนผสมอะไร
- Good for gut ผู้บริโภคให้ความสำคัญในระบบทางเดิน อาหาร โดยเฉพาะกลุ่มพรีไบโอติก
- Experiential Eating ผู้บริโภค 74% ต้องการลอง รสชาติใหม่ๆ
- Balanced Wellnessผู้บริโภค 48% วางแผนจัดการ สุขภาพอย่างสมดุล ต้องการอาหารที่สร้าง Immune
- Food tech innovation Innovative & Smart Produce Food - Concept มี บทบาทมากขึ้นในการ ผลิตอาหาร
- Protein Choicesผู้บริโภค 52% มีความยืดหยุ่น ผสมผสานทั้งโปรตีนจากสัตว์และพืช
และจากเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงไปและการแข่งขันสูงขึ้น ทั้งด้านราคาจึงรุนแรงขึ้นหากยังผลิตสินค้าในแบบเดิม ดังนั้น การผลิตสินค้าใหม่ๆ อย่างอาหารอนาคต เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้ากลุ่มเดิม และเพื่อดึงดูดความสนใจ ลูกค้ากลุ่มใหม่จึงเป็นทางออกหนึ่ง
“อาหารแห่งอนาคต (Future Food)ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวอีกต่อไป แต่เป็นทางออกของไทยและของโลกที่อาหารจะไม่เป็นแค่ของอร่อยกินอิ่มท้อง แต่จะเป็นอาหารที่ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ และดีต่อโลก อาหารอนาคตไทยจะมุ่งเน้นการผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย ตรวจสอบย้อนกลับได้ เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและดีต่อสุขภาพ โดยหลายหน่วยงานภาครัฐมีแผนการสนับสนุนอาหารแห่งอนาคตตามแผนเศรษฐกิจ BCG Model)
สำหรับธุกิจการส่งออกอาหารแห่งอนาคตในช่วงปี61-64พบว่าขยายตัวในอัตรา18% จากมูลค่า89,419ล้านบาทในปี61 เป็นมูลค่า 105,147ล้านบาทในปี64 ส่วนปี2565 ไทยมีมูลค่าส่งออกสินค้า Future Food ประมาณ 1.29 แสนล้านบาท เติบโต 23 % โดยคิดเป็นสัดส่วน 10% ของอาหารทั้งหมด
ปัจจุบันประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์อาหารแห่งอนาคตที่หลากหลายทยอยออกสู่ตลาด ซึ่งวางจำหน่ายทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ สามารถจัดเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ อาหารอนาคต หรือ future food แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ปี 2565 คืออาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ (functional foods and drink) ,อาหารเกษตรอินทรีย์ (organic foods),อาหารกลุ่มที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม (novel foods),อาหารทางการแพทย์ (medical foods)
ส่วนปี 2566 คาดการณ์การส่งออกจะเท่ากับปี 2565 หรืออาจเติบโตเล็กน้อยโดยมีสัดส่วนการเติบโตชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับ ปี 2565 เทียบกับปี 2564เนื่องจากมีสถานการณ์ที่ยังต้องติดตาม เช่น ภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลต่อกำลังซื้อ และ เศรษฐกิจเริ่ม ชะลอตัวในหลายคู่ค้าเศรษฐกิจ เช่น คู่ค้าสำคัญของสินค้าอาหารอนาคตอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป
แต่อย่างไรก็ตามมองว่าอาหารแห่งอนาคตมีแนวโน้มทีดีและเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ เนื่องจากเป็นการเพิ่มมูลค่าทำให้ สามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่าอุตสาหกรรมอาหารดั้งเดิม ทำให้มีโอกาสในการแข่งขันสูง ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มีความ ต้องการเฉพาะกลุ่มได้มากกว่าอาหารทั่วไป