ถอดบทเรียนช่วยเหลือสังคมต่อสู้โควิด-19 ด้วยการรีไซเคิลขวด PET พร้อมส่งเสริมการจัดการขยะพลาสติก

หลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 มายาวนานกว่า 2 ปี ประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลกกำลังผ่อนคลายข้อมาตรการป้องกัน และเปลี่ยนผ่านไปสู่ ‘โรคเฉพาะถิ่น‘ อย่างไรก็ตาม หากย้อนมองในขณะที่เราได้เผชิญกับความยากลำบากและผลกระทบมากมายจากการแพร่เชื้อไวรัสนี้ เราก็ได้รับบทเรียนและการเรียนรู้ที่มากมายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นมาจากการกรณีศึกษาของ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลเพื่อผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์มาตรฐานระดับโลกที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่า มีประโยชน์ไม่เพียงแต่ช่วยต่อสู้COVID-19 เท่านั้น แต่ยังเป็นเป็นแนวทางในการสนับสนุนการจัดการขยะพลาสติกอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

โดยโครงการนำร่องในปี 2564 ไอวีแอลได้ร่วมมือกับพันธมิตร 14 องค์กร และผู้มีส่วนได้เสียจำนวน 1,597 คน ในโครงการบริจาคชุด PPE จำนวน 8,000 ชุด และชุดเครื่องนอน จำนวน 1,000 ชุด ซึ่งผลิตจากขวด PET หลังการบริโภคจำนวน 9.35 ตัน ที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (rPET) แปรรูปเป็นเส้นด้าย จากนั้นนำไปถักทอเป็นผ้าโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 100% และนำไปเคลือบสารสะท้อนน้ำ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส

สิ่งที่ทำให้ชุด PPE เหล่านี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือไม่เพียงแต่การได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสถาบันสิ่งทอแห่งประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นผลิตภัณฑ์ PPE ที่เหมาะสำหรับใช้งานทางการแพทย์ ซึ่งสามารถซักและนำมาใช้ซ้ำได้ถึง 20 ครั้ง นอกจากนี้ ยังสามารถลดปริมาณของเสียในสิ่งแวดล้อมที่มาจากการใช้ชุด PPE แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

การศึกษาผลการดำเนินงานของโครงการนี้ ซึ่งดำเนินการโดย Social Value Thailand (SVTH) แสดงให้เห็นว่า การใช้ PET รีไซเคิลเพื่อผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จำนวน 244.48 ตัน เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ถึง 27,142 ต้น และเนื่องจากชุด PPE จำนวน 8,000 ชุดนี้ สามารถนำไปซักและนำมาใช้ใหม่ได้อย่างปลอดภัย นั่นหมายความว่า เราสามารถลดการใช้ชุด PPE แบบใช้แล้วทิ้งได้มากถึง 240,000 ชุด ทั้งนี้ SVTH เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระดับโลกที่มุ่งเน้นการประเมินคุณค่าและผลกระทบทางสังคม การจัดการโครงการ รวมถึงวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Social Return on Investment – SROI) ของโครงการบริจาคชุด PPE ของไอวีแอลตลอดทั้งวงจร ซึ่งความสำเร็จนี้นำไปสู่การเป็นโครงการนำร่อง และกรณีศึกษา ที่ช่วยสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์รีไซเคิล PET

ขณะเดียวกัน ยังช่วยลดปริมาณของเสียจากการรักษาพยาบาลและบริการทางการแพทย์อีกด้วย นี่เป็นข้อพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมว่า ขวด PET หลังการบริโภคนั้นสามารถนำมารีไซเคิลได้อย่างเต็มศักยภาพ และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ PET รีไซเคิลได้ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับของบุคลากรทางการแพทย์ในด้านสุขอนามัยและคุณภาพ

“ไอวีแอลต้องการยกระดับองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของเราในธุรกิจรีไซเคิล PET เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ โดยร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อคิดค้นนวัตกรรมชุด PPE และชุดเครื่องนอน ที่ทำจากเส้นด้ายรีไซเคิล PET เนื่องจากขยะทางการแพทย์และขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ ไอวีแอลจึงต้องการนำเสนอแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการใช้ประโยชน์จากการรีไซเคิลเพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งสะท้อนบทพิสูจน์ว่า ขวด PET หลังการบริโภคสามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์ และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ PET รีไซเคิลทุกประเภท ในด้านสุขอนามัยและคุณภาพ” ยาช โลเฮีย ประธานคณะกรรมการด้านการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าว

สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบัน Social Value Thailand องค์กรที่ดำเนินงานวิจัยนี้ กล่าวว่า “จากผลการประเมิน SROI ของโครงการบริจาคชุด PPE ที่ผลิตจากเส้นด้าย PET รีไซเคิล พบว่า โครงการดังกล่าวสามารถสร้างผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจถึง 7.55 เท่า ประการแรก คุณค่าทางสังคมคิดเป็น 72.6% ของผลประโยชน์ทั้งหมด การศึกษาแสดงให้เห็นว่า ชุมชนทางการแพทย์มีความมั่นใจในการใช้ชุด PPE ที่ผลิตจากเส้นด้าย PET รีไซเคิล ช่วยลดขยะทางการแพทย์ นอกจากนี้ ยังสะท้อนถึงความตระหนักและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ประชาชนรู้สึกมั่นใจในความสะอาดและประโยชน์ของการใช้ PET รีไซเคิล ในด้านเศรษฐกิจ โครงการส่งผลให้เกิดการสร้างมูลค่ารวม 23.7% ของการดำเนินงานทั้งหมด โดยส่วนใหญ่มาจากการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก PET รีไซเคิล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ นอกจากนี้ ยังช่วยลดต้นทุนในการจัดซื้อชุด PPE และการจัดการขยะพลาสติก PET ในชุมชนหรือสังคมอีกด้วย”

“ที่สำคัญ โครงการนี้ยังสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถลดปริมาณขยะขวด PET ในชุมชนหรือองค์กรต่างๆ และลดการใช้ชุด PPE แบบใช้แล้วทิ้งได้มากถึง 240,000 ชุด รวมถึงสามารถลดขยะฝังกลบได้มากกว่า 9 ตัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์ของ PET รีไซเคิล ผลลัพธ์เหล่านี้สะท้อนถึงกลไกที่ริเริ่มโดยไอวีแอล ที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าร่วมกัน และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน นอกจากนี้ โครงการยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ข้อ 12 (SDG12) ที่มุ่งสร้างความร่วมมือในสังคม ชุมชน และผู้บริโภค” สกุลทิพย์กล่าว

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า ชุด PPE รีไซเคิลได้รับความไว้วางใจจากชุมชนทางการแพทย์ว่าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ความสำเร็จนี้นำไปสู่โครงการนำร่องและกรณีศึกษาที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ PET รีไซเคิล ในขณะเดียวกันก็สามารถลดปริมาณของเสียจากการรักษาและการบริการทางการแพทย์ได้

“ไอวีแอลมุ่งมั่นต่อเป้าหมายของเราในการเพิ่มความสามารถในการรีไซเคิลเป็น 5 หมื่นล้านขวดต่อปีภายในปี 2568 เราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนสำหรับพลาสติก และตั้งใจที่จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์รีไซเคิล ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการลดปริมาณขยะ และโครงการชุด PPE นี้แสดงให้เห็นว่า PET รีไซเคิลมีส่วนสนับสนุนด้านการแพทย์เป็นอย่างมาก และยกให้เป็นกรณีการใช้งาน PET รีไซเคิลเพื่อประโยชน์ในวงกว้าง” ยาช กล่าวสรุป

 

ที่มา: https://positioningmag.com/1391215 

วันที่ 11 กรกฎาคม 2565