“เปลี่ยน ปรับ ขยับ” จุฬาฯ ชวนชาเลนจ์เป็นคนรักษ์โลก รับศักราชใหม่

ข้อแรก เริ่มด้วยตนเองง่ายๆ แค่ “เปลี่ยน” มาใช้แก้ว หรือภาชนะส่วนตัว หรือภาชนะที่ใช้ซ้ำได้เวลาที่ไปซื้อเครื่องดื่มหรืออาหาร คุณก็สามารถลดการใช้ single use plastic ไปได้หลายชิ้นแล้ว

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ชาวจุฬาฯ ตอนนี้มีตู้กดน้ำอยู่ 112 ตู้ ทั่วมหาวิทยาลัย ขอแค่คุณนำแก้วส่วนตัวมา ก็สามารถกดน้ำที่สะอาดไปดื่มได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องซื้อน้ำขวดใหม่ให้เหลือขวดทิ้งกลายเป็นขยะ
และสามารถเช็คตำแหน่งตู้กดน้ำได้ที่นี่เลย! >> https://www.google.com/maps/d/edit...

ข้อสอง “ปรับ” การสั่งอาหารให้พอดี ถึงเวลาอาหารแล้ว ถ้ายังไม่หิวมาก เราควรเลือกสั่งอาหารให้น้อยลง ปรับปริมาณอาหารให้พอดีกับความต้องการของตัวเอง เท่านี้ก็ช่วยลด Food waste ต้นกำเนิดสร้างก๊าซเรือนกระจกอย่างมีเทนไปได้อีกเยอะเลย!

ข้อสาม “ขยับ” เรื่องการทิ้งขยะ ถ้าคุณลดขยะไม่ได้ ก็ลองมาแยกขยะให้ถูกต้องกัน คนไทยสร้างขยะกันเฉลี่ยถึงวันละ 1.3 กิโลกรัม การแยกขยะจะช่วยให้ขยะไม่กลายเป็นขยะทันที แต่จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังมีคุณค่า สร้างประโยชน์ต่อเราได้ เช่น ทำเป็นปุ๋ย เชื้อเพลิง หรือแม้กระทั่งเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ ของใช้จากการ Upcycle ขวดพลาสติก PET เป็นต้น

แต่ถ้าเราไม่แยก ทิ้งแบบมัดรวมไปในถุงเดียว ปลายทางของขยะเหล่านี้ก็จะกลายเป็นกองขยะขนาดยักษ์ที่เรียกว่าบ่อฝังกลบ จริงอยู่ที่โรงกำจัดขยะ หรือรถเก็บขยะ ถึงแม้เขาจะทำการแยกขยะที่รีไซเคิลได้อย่างขวด PET กระป๋องอลูมีเนียม ออกมา แต่มันต้องดีกว่าแน่ๆ ถ้ามันถูกแยกตั้งแต่ต้นทางที่มือของเรา ลองตั้งใจมาคัดแยกขยะให้ไปสู่ปลายทางที่ถูกต้องกันเถอะ!

ข้อมูลอ้างอิง CHULA Zero Waste

 

ที่มา: https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000000192 

วันที่ 04 มกราคม 2565