ครั้งแรก! คาโอส่งโปรเจกต์ Upcycling “TurnTrash2Trendy” ยกระดับขยะพลาสติก สู่ของใช้พรีเมียมรักษ์โลกสุดสร้างสรรค์

ด้วยความตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคำนึงถึงความสมดุลในการเติบโตของธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำให้ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kao ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและเคมีภัณฑ์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ได้สร้างสรรค์ โครงการ Upcycling #TurnTrash2Trendy เพื่อเดินหน้าสู่ความยั่งยืน โดยเนรมิตขยะพลาสติกเหลือใช้ที่เกิดจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ กว่า 50 ตัน สู่ของพรีเมียมรักษ์โลกกว่า 2 แสนชิ้นที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า

จุดเริ่มต้น โครงการ Upcycling #TurnTrash2Trendy

ภายใต้การดำเนินธุรกิจตามนโยบายและกลยุทธ์การดำเนินงานอย่างยั่งยืนของคาโอ (Kao ESG Strategy) หรือ “Kirei Lifestyle Plan” ในเรื่อง “สิ่งแวดล้อม” หรือ “การสร้างโลกที่สะอาดและสมบูรณ์” จึงเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการจัดการขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2040 นั่นทำให้โครงการ Upcycling #TurnTrash2Trendy กำเนิดขึ้น โดยนำขยะพลาสติกที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิต (Post-Industrial Recycled หรือ PIR) มา Upcycling เพิ่มมูลค่าผ่านการสร้างสรรค์เป็นของพรีเมียมในรูปแบบของใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งต่อความยั่งยืนนี้ให้ลูกค้าให้ได้ใช้ ประโยชน์สูงสุด ซึ่งโครงการนี้มีส่วนช่วยลดก๊าซเรือนกระจกจากการลดการใช้พลาสติกใหม่ (Virgin Plastic) อีกด้วย

เมื่อขยะเหลือใช้ แปลงร่างกายเป็นของใช้ชิ้นใหม่สุดสร้างสรรค์

สำหรับโครงการ Upcycling #TurnTrash2Trendy คาโอได้นำขยะพลาสติกใหม่ที่เหลือจากกระบวนการผลิต ได้แก่ เศษพลาสติกที่เหลือจากการตัดขอบผ้าอนามัยลอรีเอะ (Trim) จำนวน 28,669 กิโลกรัม และบรรจุภัณฑ์ที่เหลือจากการปรับเปลี่ยนโฉมแบรนด์ผงซักฟอกแอทแทค เก็บสะสมเพื่อนำมา Upcycling แทนการทำลายทิ้งเหมือนในอดีต จำนวน 8,399 กิโลกรัม รวมทั้งหมดอยู่ที่ 37,068 กิโลกรัม มาผ่านขั้นตอนการล้าง และหลอมเป็นเม็ดพลาสติก เพื่อนำไปขึ้นรูปเป็นของพรีเมียมรักษ์โลกที่หลากหลาย ได้แก่ ตะกร้า, กะละมัง, กระเป๋า, กล่องอเนกประสงค์ และเก้าอี้นั่งมีฝา จำนวนทั้งสิ้น 202,020 ชิ้น เพื่อมอบให้เป็นของใช้ภายในบ้านสำหรับคุณแม่บ้าน พ่อบ้าน โดยของพรีเมียมแต่ละชิ้นผลิตจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วในปริมาณที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

- ตะกร้า 100 ใบ ใช้ส่วนประกอบพลาสติกจากถุงบรรจุภัณฑ์แอทแทค (Attack) ลดขยะพลาสติกจากกระบวนการผลิตได้ 344 กิโลกรัม
- กระเป๋า 100 ใบ ใช้ส่วนประกอบพลาสติกจากเศษผ้าอนามัยลอรีเอะ (Laurier) ลดขยะพลาสติกจากกระบวนการผลิตได้ 22 กิโลกรัม
- กะละมัง 100 ใบ ใช้ส่วนประกอบพลาสติกจากถุงบรรจุภัณฑ์แอทแทค (Attack) ลดขยะพลาสติกจากกระบวนการผลิตได้ 27 กิโลกรัม
- เก้าอี้นั่งมีฝา 100 ใบ ใช้ส่วนประกอบพลาสติกจากเศษผ้าอนามัยลอรีเอะ (Laurier) ลดขยะพลาสติกจากกระบวนการผลิตได้ 55 กิโลกรัม

ความสำเร็จของโครงการ ที่มาพร้อมกับความท้าทาย

นับว่าโครงการนี้ เป็นอีกหนึ่งในความท้าทายของคาโอ เพราะนอกจากต้องทดลองผลิตของพรีเมียมให้สามารถใช้ประโยชน์แล้ว ทั้งยังต้องตอบโจทย์ความต้องการ และสร้างความพึงพอใจของลูกค้า ให้เชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าพรีเมียมที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิลว่าเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกตั้งต้น (Virgin Material) ถึงแม้อาจจะมีร่องรอยที่ชี้ให้เห็นว่าผ่านการกระบวนการรีไซเคิลมาแต่คุณภาพไม่ได้แตกต่างจากพลาสติกใหม่ อีกทั้งยังคงทนแข็งแรงและยังส่งต่อความยั่งยืนได้ ทำให้บริษัทได้รับการตอบรับอย่างดีมากจากการทดลองครั้งแรกในปีที่ผ่านมา จนนำมาสู่การพัฒนาและเพิ่มจำนวนการผลิตมากขึ้นในปีนี้

‘คาโอ’ พร้อมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในอนาคต

ในอนาคต คาโอยังคงมีแผนที่จะสร้างสรรค์โครงการใหม่ ๆ เพื่อตอกย้ำการมุ่งสู่การเป็นผู้นำธุรกิจสินค้าอุปโภคเพื่อความยั่งยืน และเดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2040 ในการแก้ปัญหาขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิต เราเชื่อว่าโครงการ Upcycling #TurnTrash2Trendy จะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม คาโอยังคงมุ่งมั่นพร้อมที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คน และสังคม ไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต และหากลูกค้าสนใจของพรีเมียมรักษ์โลก สามารถติดตามข่าวสารโปรโมชันต่างๆ ของสินค้าภายใต้แบรนด์ของคาโอ ได้ตามช่องทางห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่างๆ แล้ววันนี้

 

ที่มา: https://positioningmag.com/1459067 

วันที่ 20 มกราคม 2567