ทุกวันนี้ธุรกิจที่ทันสมัยมักจะอ้างอิงผลลัพธ์ “ความยั่งยืน” (Sustainability) ซึ่งเป็นผลของการบริหารในแนว ทาง ESG คือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(E) ใส่ใจสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(C) และมีธรรมาภิบาล(G) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
SDG เป้าหมายที่13 “ การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”ที่เป็นปัญหาใหญ่ด้านภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมใหญ่ แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ที่เกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น ดังที่ประเทศต่างๆทุกภูมิภาค รับรู้พิษสงกันทั่วหน้า
สาเหตุก็มาจากภาวะ โลกร้อน ที่ปัจจุบันเลขาธิการสหประชาชาติระบุว่าตอนนี้เข้าสู่ระดับ “โลกเดือด” เพราะระบบการผลิตและพฤติกรรมการสร้างมลภาวะของมนุษย์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่หยุดหย่อน ทำให้อุณหภูมิของโลกยังเพิ่มขึ้นจนใกล้ขีดอันตราย
แค่ตระหนักรู้ปัญหาจึงไม่พอ แต่ทุกคนทุกองค์กรต้องมีส่วนลดสาเหตุของปัญหา ที่ทุกภาคส่วนต้องทำจริง เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของเพื่อนร่วมโลก
ผมจึงขอนำความก้าวหน้าของการพัฒนา “นวัตกรรมรักษ์โลก”ของกลุ่มธุรกิจชั้นนำมาเสนอ นี่เป็นตัวอย่างของSCGครับ
เอสซีจี เป็นกลุ่มธุรกิจชั้นนำมุ่งพัฒนาและลงทุนในนวัตกรรมสินค้า บริการ และโซลูชันครบวงจรที่หลากหลาย เพื่อสนองความต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของลูกค้าและโลก พร้อมรับมือวิกฤตต่างๆในแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เห็นได้จากตัวอย่างผลงานความก้าวหน้าของนวัตกรรมคาร์บอนต่ำ ของกลุ่มธุรกิจเอสซีจี ที่ขอนำมาถ่ายทอดดังนี้
1.ปูนคาร์บอนต่ำ ( Low Carbon Cement)
มาตรฐานใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออก ไซด์ในกระบวนการผลิต และยังมีความแข็งแรง ทนทาน รับกำลังอัดได้ดีกว่าหรือเทียบเท่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั่วไป นับเป็นปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกรายแรกของไทยที่มีมาตรฐานทดแทนการใช้ถ่านหินได้เท่ากับ18%ของความร้อนและมีการ ใช้ลมร้อนที่เกิดจากการผลิตนำกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดการใช้พลังงานถึง 38%
การผลิตปูนซีเมนต์อลิก1ตันจะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 0.05 ตัน CO2 เหมาะกับงานสาธารณูปโภคพื้นฐาน งานถนน งานสะพาน หรือ งานก่อสร้างอาคาร ที่พักอาศัยทั่วไป รวมถึงด้านผู้รับเหมา เจ้าของโครงการ ที่ใช้เป็นคุณสมบัติขอการรับรองมาตรฐานอาคารเขียว
นิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจีบอกว่า ขณะนี้ปูนคาร์บอนต่ำกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศไทยมีการใช้เพิ่มขึ้นถึง 69% จึงต้องเร่งปรับการผลิตและขยายการส่งออก
2. ระบบหลังคาโซลาร์ สำหรับที่อยู่อาศัย
เอสซีจีเดินหน้าพัฒนาสินค้าและบริการ ผลักดันให้บ้านเป็น ‘Home Energy Management’ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในบ้านของคนยุคใหมแบบ ‘Smart Living’ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวก ด้วยSCG Solar Roof Solutions ซึ่งประกอบด้วย
ระบบออนกริด(On Grid) เป็นระบบโซลาร์ที่ใช้ทั้งไฟจากการไฟฟ้าและไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์ เหมาะกับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ไม่มีแบตเตอรี่ ผลิตไฟฟ้าใช้ได้เลยและสามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้ โดยทาง SCG จะดำเนินการขออนุญาตการติดตั้งจากภาครัฐให้ทั้งกระบวนการ
SCG Solar Roof ระบบไฮบริด (Hybrid Grid) เป็นระบบที่มีการใช้ไฟจากทั้งการไฟฟ้า ไฟที่ผลิตจากแผงโซลาร์ และไฟจากแบตเตอร์รี่ ในกรณีที่แผงโซลาร์ผลิตกระแสไฟฟ้ามากเกินการใช้งาน ไฟจะถูกส่งไปเก็บที่แบตเตอรี่ และสามารถดึงมาใช้ในช่วงกลางคืน จึงทำให้มีพลังงานสะอาดใช้ได้ตลอด24 ชั่วโมง ทั้งสามารถเป็นไฟฉุกเฉินสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าสำคัญของบ้าน
3. SCG Air Scrubber นวัตกรรมบำบัดอากาศเสีย พร้อมลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
ช่วยให้คนที่อาศัยในอาคารมีสุขภาวะที่ดีจากการบำบัดอากาศภายในอาคาร พร้อมลดการใช้พลังงานได้สูงสุดถึง 30% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยยกระดับมาตรฐานสู่อาคารประหยัดพลังงาน
● ลดการนำเข้าอากาศจากภายนอก ลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ช่วยประหยัดพลังงานจากระบบปรับอากาศ 20-30% เมื่อเทียบกับระบบปรับอากาศของอาคารแบบทั่วไป
● ลดมลพิษในอากาศ ด้วยเทคโนโลยีดูดซับสารพิษกลุ่มก๊าซได้มากกว่า 30 ชนิด ช่วยให้สุขภาวะของคนในอาคารดีขึ้น ซึ่งระบบปรับอากาศแบบทั่วไปใช้การระบายอากาศอย่างเดียว
● ลดต้นทุนของระบบปรับและระบายอากาศลงได้มาก อีกทั้งยังช่วยให้อาคารได้คะแนนมาตรฐานอาคารสีเขียว (LEED Certified) และมาตรฐานอาคารสุขภาวะ (WELL Certified) สูงขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุน
4.นวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
SCGC GREEN POLYMER™เป็นนวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก สามารถนำมาผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ดีต่อโลกมากขึ้น ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน โดย SCGC ตั้งเป้าหมายเพิ่มปริมาณการขายรวมสินค้ากลุ่ม Green Polymer เป็น 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 ครอบคลุม 4 โซลูชันได้แก่
1.REDUCE: ลดการใช้ทรัพยากร
เป็นนวัตกรรมที่ทำให้สามารถผลิตเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงที่มีความแข็งแรงมากขึ้น ช่วยลดความหนาของชิ้นงานลง ลดการใช้ทรัพยากรอย่างเม็ดพลาสติก และทำให้ชิ้นงานมีน้ำหนักเบาลง จึงช่วยลดพลังงานในการขนส่ง รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย
2.RECYCLABLE: การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้
SCGCได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกประเภท PE PP หรือ PO เพียงอย่างเดียวทั้งชิ้นงานได้ ทำให้รีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม อาทิ นวัตกรรมสารเคลือบชั้นฟิล์มป้องกันการซึมผ่านของอากาศ รับรองมาตรฐานสากล เป็นรายแรกในอาเซียน
3.RECYCLE: การนำกลับมาใช้ใหม่
เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง จากกระบวนการนำพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลเชิงกล พร้อมปรับปรุงคุณสมบัติด้วยสูตรเฉพาะของ SCGC ทำให้สามารถเปลี่ยนพลาสติกใช้แล้ว ให้กลายเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ชนิด HDPE LDPE และ PP
ทั้งยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปสู่แหล่งที่มาของพลาสติกใช้แล้วที่ถูกนำมาใช้ได้ สอดคล้องกับมาตรฐานระดับโลกอย่าง Global Recycled Standard (GRS) จึงสามารถใช้ทดแทนเม็ดพลาสติกใหม่ได้ตั้งแต่ 25-100% ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 70%*
4.RENEWABLE พลาสติกชีวภาพ หมุนเวียนทรัพยากร
SCGC ร่วมกับ Braskem (บราสเคม) ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล ตกลงร่วมมือเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนผลิตพลาสติกชีวภาพในประเทศไทย สนองความต้องการพลาสติกชีวภาพในเอเชียและตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บทบาทนี้ช่วยส่งเสริมการใช้พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในกลุ่มผู้บริโภคสายกรีน
5.นวัตกรรมในห่วงโซ่ธุรกิจผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
ผลิตภัณฑ์คาร์บอนแบล็กชนิดพิเศษที่เป็นวัสดุนำไฟฟ้า มีคุณสมบัติที่มีความบริสุทธิ์และการนำไฟฟ้าสูง ส่วนใหญ่จะใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตแบตเตอรีลิเธียมไอออนแบบชาร์จไฟได้สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า(EV) เป็นหลัก รวมถึงสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตสายส่งไฟฟ้าแรงสูง คาดว่าจะมีกำลังการผลิตประมาณ 11,000 ตันต่อปี และโรงงานสามารถเริ่มกระบวนการผลิตได้ภายในต้นปี 2568 นับเป็นการเข้ารุกสู่ธุรกิจ EV Value Chain
SCGC ยังได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับบริษัท Denka Company Limited ประเทศญี่ปุ่น เพื่อผลิตและจำหน่ายอะเซทิลีนแบล็ก (Acetylene Black) ให้กับผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งบริษัทDenkaเป็นผู้นำระดับโลกในวงการนี้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า อันเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต
6.SCG Cleanergy
บริการซื้อ-ขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดครบวงจร สำหรับภาครัฐ ธุรกิจและอุตสาหกรรม ด้วยระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Grid) สำหรับการซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานสะอาด ที่สะดวก รวดเร็ว ทั้งยังต่อยอดให้ลูกค้าขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้เองในอนาคต
ข้อคิด….
ใครที่เคยบอกว่า แนวคิดเรื่องการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน(ฆSDGs) เป็นเรื่องที่ควรทำ “เพื่อให้ดูดี”
ขอบอกว่าทุกวันนี้ประจักษ์พยานจากกระแสธุรกิจโลกยืนยันได้ว่าการกำหนดแนวทางเพื่อความยั่งยืนไว้ในแผนกลยุทธ์ธุรกิจเป็นสิ่งที่ ต้องทำ”เพื่อลดผลกระทบ และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพื่อให้มีคุณสมบัติพร้อมที่จะอยู่รอดปลอดภัยในการก้าวไปข้างหน้า
กรณีศึกษาความสำเร็จของกลุ่ม SCG ในแนวทาง “เศรษฐกิจหมุนเวียน”มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และร่วมลงทุนกับธุรกิจผู้นำด้านนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการแนะแนวการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมด้วยพลังงานสะอาด ลดการปล่อยมลภาวะ และลดต้นทุนด้านพลังงาน
จึงเป็นกลยุทธ์เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและเสริมสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนด้วยนวัตกรรม “รักษ์โลก”
ที่มา: https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9660000105424