ทีมวิจัยจากเยอรมนี เพาะ “เชื้อรา” ที่ช่วยกินพลาสติกเป็นอาหาร

ทีมวิจัยจาก สถาบันนิเวศวิทยาน้ำจืดและการประมงน้ำจืดแห่งไลบ์นิซ (Leibniz Institute of freshwater Ecology and Inland Fisheries) ในเยอรมนี ได้ทำการวิเคราะห์ Fungi หรือสิ่งมีชีวิตในกลุ่มของรา เห็ด และยีสต์ บริเวณทะเลสาบสเตคลิน (Lake Stechlin) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เพื่อดูการเติบโตของเชื้อราขนาดเล็กบนพลาสติกบางชนิด และพบว่าสามารถย่อยสลายพอลิเมอร์สังเคราะห์ได้ โดยทีมวิจัยพบว่า จากเชื้อราที่เลือกศึกษาทั้งหมด 18 สายพันธุ์ มี 4 สายพันธุ์สามารถใช้ย่อยสลายพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพลาสติกประเภทพอลิยูรีเทนที่ใช้ทำโฟมก่อสร้าง ส่วนพลาสติกประเภท พอลิเอทิลีนย่อยสลายได้ช้ากว่ามาก ส่วนไมโครพลาสติกย่อยสลายได้ยากที่สุด ทีมวิจัยระบุว่า แม้เชื้อรากลุ่มนี้จะสามารถย่อยพลาสติกได้ แต่กิจกรรมการย่อยสลายพลาสติกจะขึ้นอยู่กับสภาวะภายนอกอย่างมาก เช่น อุณหภูมิ หรือสารอาหาร การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาจุลินทรีย์ที่สามารถใช้ทำลายพลาสติกในโรงบำบัดน้ำเสีย

ที่มา: https://packaging.oie.go.th/new/readmore_inovation-news.php?view=7&invid=20894 

วันที่ 24 สิงหาคม 2567