ฟิล์มพลาสติกเปลือกกล้วย ย่อยได้ภายใน 30 วัน

ง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก กินกล้วยก็ต้องปลอกเปลือก ไม่มีใครกินกล้วยเข้าไปทั้งลูกแน่นอน เอ๊ะ หรือว่ามี?
.
แล้วมีใครรู้บ้างว่ากล้วยที่เรากิน ๆ กันอยู่เนี่ยเป็นพืชที่มีการปลูกมากเป็นอันดับ 4 ของโลกเลยนะ รองจากข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพด แต่! ไม่มีใครเขากินเปลือกกล้วยกันนี่สิ ซึ่งก็อาจจะหมายถึงจะมีเปลือกกล้วยที่ต้องถูกทิ้ง 100% และกลายเป็น food waste อันดับต้น ๆ ของโลก หรือราว ๆ 36 ล้านตันต่อปีเลย
.
และเพื่อเป็นการหยุดยั้งขยะจากเปลือกกล้วยทำให้ Srinivas Janaswamy รองศาสตราจารย์ภาควิชาผลิตภัณฑ์นมและวิทยาศาสตร์การอาหารของมหาวิทยาลัย South Dakota. State University ในสหรัฐอเมริกา ได้คิดค้น "ฟิล์มบรรจุภัณฑ์จากเส้นใยเปลือกกล้วย" ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกนะ เด็กไทยจากโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย พิษณุโลกก็เคยคิดค้น พลาสติกจากเปลือกกล้วยด้วยเหมือนกัน
.
เพราะในเปลือกกล้วยประกอบไปด้วย ลิกโนเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่ มีโครงสร้างที่แข็งแกร่ง สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ มีความหนาแน่นต่ำ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเหมาะที่จะนำมาทำพลาสติกชีวภาพนั่นเอง
.
หลังจากที่ทีมนักวิจัยได้ทำการทดสอบคุณสมบัติของฟิล์มจากเปลือกกล้วยพวกเขาพบว่ามันมีความแข็งแรงกว่าถุงกระสอบในท้องตลาด และโปร่งใสกว่าเปลือกอะโวคาโด ที่พวกเขาเคยใช้ทดสอบ และ ที่สำคัญคือมันสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพโดยมีความชื้นในดินที่ 21% ภายใน 30 วันเลย ถ้าทำออกมาสู่ตลาดได้จริงลดขยะไปได้เยอะเลยนะเนี่ย ทั้งเปลือกกล้วย ทั้งพลาสติกเลย ดีอ่าา
.
https://phys.org/news/2024-02-bananas-plastic-crisis.html
https://i4biz.nrct.go.th/NRCT_PLATINUM58/home/show_product.php?research_id=3540&fbclid=IwAR3bN2WC_cSS6JFxO2ZHxqLwDfYQmdAHjmS1u2eSqJhedmR1rX02OTNC6D4 

 

ที่มา: https://www.facebook.com/photo/?fbid=973442857473043&set=a.649141226569876 

วันที่ 15 มีนาคม 2567