หากนับย้อนไปถึงโครงการด้านสิ่งแวดล้อมแรกๆ ที่ดำเนินการในประเทศไทย สำหรับ เต็ดตรา แพ้ค (Tetra Pak) ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมานานกว่า 20 ปี ซึ่งคุณปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน ได้อธิบายว่า จุดยืนของ เต็ดตรา แพ้ค เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจากการวางแนวทางของผู้ก่อตั้งบริษัทฯ ในการลดขยะตั้งแต่เริ่มต้นการผลิต แต่ต้องคงหน้าที่ของการเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ส่งมอบอาหารที่ปลอดภัยให้ได้ และต่อมาเริ่มเข้มข้นขึ้นเมื่อรับรู้ถึงปัญหาขยะต่างๆ ว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด #ภาวะโลกร้อน และมีส่วนทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนไป ทั้งยังกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ด้วย
โดยตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เต็ดตรา แพ้ค ไม่ใช่แค่เปิดตัวแคมเปญมากมาย เช่น โครงการกล่องยูเอชที รีไซเคิลได้ (Beverage Carton Recycling Project: BECARE), โครงการหลังคาเขียวเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (“ภาฯ”) ยามยาก เป็นต้น แต่เริ่มต้นแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ตั้งแต่การสร้างความตระหนักรู้ เน้นการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจในภาพรวม จนไปถึงเพิ่มความเข้าใจและความจำเป็นว่าทำไมเราต้องคัดแยกขยะก่อนเสมอ
จนมาถึงโครงการล่าสุดที่เกิดเป็นแคมเปญ Go Nature Go Carton บอกเป้าหมายของเต็ดตรา แพ้คที่ชัดเจนในการใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ทดแทนได้ และเปิดตัวไปแล้วทั่วโลก ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ตลอด 5-10 ปีที่ผ่านมา ว่าสิ่งสำคัญ ณ เวลานี้สำหรับ เต็ดตรา แพ้ค ก็คือ การทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน
อย่างที่เต็ดตรา แพ้ค ได้ร่วมมือกับ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF-ประเทศไทย) และองค์การจัดการด้านป่าไม้ (Forest Stewardship Council™: FSC™) ซึ่งทางเต็ดตรา แพ้ค มองว่า การทำงานร่วมกันจากทุกภาคส่วนจะทำให้เกิดการบังคับใช้ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น และจะเป็นการทำงานภายใต้ framework เดียวกันจริงๆ
โดยส่วนของ เต็ดตรา แพ้ค ได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารที่เน้นความยั่งยืน และยึดความสำคัญที่ความปลอดภัยทางอาหารรวมถึงการลดปริมาณขยะอาหารให้เป็น top priority ซึ่งในครั้งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ได้พยายามพัฒนาบรรจุภัณฑ์กล่องเครื่องดื่มเพื่ออนาคต ซึ่งจะเป็นกล่องเครื่องดื่มที่ใช้ทรัพยากรทดแทนได้ และต้องรีไซเคิลได้ทั้งหมด
อย่างเช่น การดีไซน์กล่องบรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่ ซึ่งน่าจะเรียกได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคตได้เลย เพราะสัดส่วนการใช้ ‘เยื่อกระดาษ’ จะเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งผลิตจากวัสดุที่สามารถทดแทนได้ (Renewable Material) นอกจากนี้ เต็ดตรา แพ้ค ตั้งใจที่จะลดสัดส่วนการใช้อลูมิเนียม-พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ และเพิ่มการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของ เต็ดตรา แพ้ค ก็คือ การผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุที่เป็นทรัพยากรทดแทนได้จากธรรมชาติ 100% (จากปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 60-70% ขึ้นอยู่กับขนาดของบรรจุภัณฑ์)
พอฟังๆ แนวคิดของทางเต็ดตรา แพ้ค แล้วชอบหนึ่งประโยคจากคุณปฏิญญา ที่พูดว่า “การโฟกัสที่สิ่งแวดล้อมของ เต็ดตรา แพ้ค ได้เกินจุดที่เป็น CSR ของบริษัทไปแล้ว เพราะจุดประสงค์สำคัญสูงสุดคือ เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกฝ่าย” ลองคิดภาพตามว่าถ้าต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างคิด ไม่ใช่แค่งบประมาณบริษัทที่จะเลยเถิด แต่อาจจะไม่สบความความสำเร็จตามเป้าหมายก็ได้
ทั้งนี้ สำหรับบรรจุภัณฑ์ของ เต็ดตรา แพ้ค ไม่ใช่เพื่อความยั่งยืนอย่างเดียว แต่ยังมีเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยยืดอายุของอาหารบนชั้นวางสินค้า แถมยังช่วยเก็บรักษาอาหารให้ปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องแช่เย็นหรือใช้สารกันบูดเลย
ที่น่าสนใจก็คือ เต็ดตรา แพ้ค มุ่งโฟกัสที่การปกป้องโลกมากกว่าเดิม ผ่านการดีไซน์บรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่ วางเป้าหมายไปที่การสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์กล่องเครื่องดื่มที่ผลิตจากทรัพยากรทดแทนได้ที่มีการจัดการอย่างรับผิดชอบทั้งหมด และรีไซเคิลได้ ซึ่งการรีไซเคิลต้องสามารถทำได้ทุกส่วนโดยไม่มีผลกระทบต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ
คุณปฏิญญา ได้พูดถึง การจัดการทรัพยากรป่าไม้ และการใช้ประโยชน์จากป่าที่มีการจัดการอย่างรับผิดชอบว่า ทุกฝ่ายควรปรับความคิดยกให้เป็นวาระสำคัญ เพราะว่าพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบันยังติดนิสัยใช้ทรัพยากรแบบหมดไป ซึ่งน่ากังวลมากสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป
โดยการร่วมมือกับ FSC ในเรื่องนี้ก็คือ อุตสาหกรรมและทุกฝ่ายควรตระหนัก และให้ความสำคัญกับวัตถุดิบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน FSC เพราะอย่างน้อยๆ ก็เป็นการรับประกันว่ากระดาษ/เยื่อกระดาษที่บริษัทนั้นๆ นำมาใช้มาจากป่าปลูกทดแทนที่มีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน ซึ่งการรับรองจาก FSC ถือว่าได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นโซลูชั่นการจัดการป่าไม้ที่เชื่อถือได้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
จะว่าไปแล้วแนวคิดของ เต็ดตรา แพ้ค ค่อนข้างน่าสนใจตรงที่ มีความเสมอต้นเสมอปลายในการใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม และยังยึดคำมั่นเดิมที่บอกว่าจะ “ปกป้องทุกคุณค่า” (PROTECTS WHAT’S GOOD™) แต่การที่เราจะส่งต่อโซลูชั่นแก้วิกฤตปัญหาของทรัพยากรให้เกิดผลได้ อย่างน้อยๆ เราต้องใช้ superpower จากทุกส่วนร่วมกัน
อย่างภาคอุตสาหกรรม ในฐานะผู้ผลิตที่มีอำนาจโดยตรงในการเลือกใช้วัสดุ และมีอำนาจเพียงพอที่จะควบคุมคุณภาพ โดยการไม่ใช้วัสดุที่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาครัฐหรือภาคการศึกษา ที่สามารถสร้างการรับรู้ และสร้างกรอบนโยบายที่เอื้อต่อภาคเอกชนได้
แต่อย่างน้อยๆ แนวคิดของเต็ดตรา แพ้ค ทำให้เราในฐานะผู้บริโภคมั่นใจว่า เราสามารถมีส่วนร่วมในการปกป้องโลกได้ และไม่ต้องคอยเลือกระหว่างระบบนิเวศของโลก หรือการตอบสนองความต้องการด้านอาหารของเรา เพราะบรรจุภัณฑ์อาหารแห่งอนาคตสามารถทำได้ทั้งสองอย่างไปพร้อมๆ กัน
ที่มา: https://www.marketingoops.com/exclusive/interview-exclusive/tetra-pak-go-nature-go-carton